วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจพอเพียง





เศรษฐกิจพอเพียง

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานในวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ คือ องค์อรรถาธิบายได้ดีกว่าการหยิบยกเหตุและผลมาร้อยเรียง
“ปีที่แล้วพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียง เพราะหาคำอื่นไม่ได้ และได้พูดอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือ ไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษ ๑ ส่วน ๔ ก็พอ ไม่ได้แปลว่าเศษ ๑ ส่วน ๔ ของพื้นที่แต่เศษ ๑ ส่วน ๔ ของการกระทำ


หมายความว่า วิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่ต้องทำทั้งหมด และขอเติมว่า ถ้าทำทั้งหมดก็จะทำไม่ได้ถ้าครอบครัวหนึ่งแม้หมู่บ้านหนึ่งทำเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ก็จะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยคนอยู่ในอุโมงค์หรือในถ้ำ ซึ่งไม่ต้องอาศัยหมู่อื่น เพราะว่าหมู่อื่นเป็นศัตรูทั้งนั้น ตีกัน ไม่ใช่ร่วมมือกัน จึงต้องทำเศรษฐกิจพอเพียง แต่ละคนต้องหาที่อยู่ ก็หาอุโมงค์ หาถ้ำ ต้องหาอาหาร คือ ไปเด็ดผลไม้หรือใบไม้ตามที่มีหรือไปใช้อาวุธที่ได้สร้างได้ประดิษฐ์เองไปล่าสัตว์ กลุ่มที่อยู่ในอุโมงค์ในถ้ำนั้น ก็มีเศรษฐกิจพอเพียง เปอร์เซ็นต์ก็ปฏิบัติได้
แต่ต่อมาเมื่อออกจากถ้ำ ได้สร้างบ้านเป็นที่อาศัยก็เริ่มจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง เพราะมีคนผ่านไปมาซึ่งไม่ได้เป็นศัตรู เอาอะไร ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน เช่น คนที่มาจากแดนไกลผ่านมามีหนังสัตว์ที่เหมาะสมจะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ก็ซื้อด้วยการแลกเปลี่ยนกับปลาที่จับได้ในบึง อย่างนี้ก็ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เวลาล่วงมาถึงปัจจุบัน ถ้าคนจะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คงทำไม่ได้ และถ้าสำรวจตัวเองหรือเศรษฐกิจของตนเอง ก็เข้าใจว่าจะเห็นได้ว่าไม่ได้ทำ เข้าใจว่าทำได้ไม่ถึง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ถึง เศษ ๑ ส่วน ๔ ก็ควรจะพอและทำได้ อันนี้เป็นข้อหนึ่งที่จะอธิบายคำพูดที่พูดมาเมื่อปีที่แล้ว
คำว่า “พอเพียง” มีความหมายอีกอย่างหนึ่งมีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน มาสมัยนี้ชักไม่พอมีพอกินจึงต้องมีนโยบายที่จะทำให้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีพอเพียงได้
ให้พอเพียงนี้หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรทำ สมควรที่จะปฏิบัติอันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจหรือระบบพอเพียง
เมื่อปีที่แล้วตอนที่พูดพอเพียง แปลในใจแล้วก็ได้พูดออกมาด้วยว่าจะแปลเป็น Self-sufficiency (พึ่งตนเอง) ถึงได้บอกว่า พอเพียงแก่ตนเอง แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียง กว้างขวางกว่า Self-sufficiency
Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรที่มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง) แต่พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีกคือคำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอ ดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อยเมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเยียนคนอื่นน้อย
ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจมีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุขพอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่นต้องให้พอประมาณตามอัตภาพพูดจาก็พอเพียงทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง
ถ้าหากต้องการเบียดเบียนอย่างนั้นก็เดือนร้อนกันแน่เพราะว่าอึดอัด จะทำให้ทะเลากัน เมื่อมีการทะเลาะกันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย จากการทะเลาะด้วยวาจาก็กลายเป็นการทะเลาะด้วยกาย ซึ่งในที่สุดก็นำมาสู่ความเสียหาย เสียหายแก่ผู้ที่เป็นตัวละครทั้งสองคนถ้าเป็นการตีกันอย่างรุนแรงได้ ซึ่งจะทำให้คนอื่นอีกมากเดือนร้อน
ฉะนั้นความพอเพียงนี้ก็แปลว่า ความพอประมาณและความมีเหตุผล”
เมื่อยกแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแนะแนวทางการดำเนินชีวิตมาปฏิบัติ จะพบในเชิงประจักษ์ว่า ผู้ที่นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้จะสามารถยกระดับรายได้ ลดรายจ่าย เพิ่มขีดความสามารถในการทำมาหาได้ ปากท้องอิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหลากหลายพื้นที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น